การผสมคอนกรีตทำอย่างไรให้ถูกวิธีและได้ประสิทธิภาพ
การผสมคอนกรีตมีการนำวัสดุหลายอย่างมาผสมกัน เช่น น้ำ หิน ทราย และปูนซีเมนต์รวมถึงน้ำยาผสมคอนกรีต โดยการนำวัสดุเหล่านี้มาผสมให้เข้ากันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อมีการเคลือบหรือห่อหุ้มมวลต่างๆไว้ ทำให้มีเนื้อเดียวกันทำให้ได้คอนกรีตที่มีประสิทธิภาพที่ดี.
คอนกรีตผสมเสร็จมีการผสม 2 วิธี
ส่วนผสมที่สำคัญในการผสมจะประกอบไปด้วย น้ำ วัสดุที่ใช้ผสม (กรวด ทราย หิน) และปูนซีเมนต์ หากนำ 3 อย่างนี้เข้าสู่ขั้นตอนการผสม วัตถุดิบจะเกิดปฏิกิริยาไเคมีทำให้เกิดเป็นคอนกรีตที่แข็งตัว และยังมีความแข็งแรงมากขึ้นหลังจากที่ผสมเสร็จ
- เครื่องผสมคอนกรีต เครื่องผสมสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบคือ
- Continuous Mixer เครื่องผสมชนิดนี้ จะผสมคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง ส่วนมากจะออกแบบไว้ใช้กับงานเฉพาะ เช่น มีการใช้งานเทคอนกรีตถนน หรือ สนามบินขนาดใหญ่ เป็นต้น แต่ถ้าจำแนกตามรูปลักษณะของเครื่องผสม สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ Pan Mixer และ Drum Mixer
- เติมน้ำประมาณในสัดส่วน 10% ใส่เครื่องผสมคอนกรีต
- ใส่วัสดุที่ใช้ผสม ได้แก่ ทราย หิน กรด ลงไปในเครื่อง
- จากนั้นค่อย ๆ เติมปูนซีเมนต์หลังจากใส่มวลรวมเข้าไปแล้วประมาณ 10%
- ต่อมาให้เติมน้ำ 80% ระหว่างการใส่วัสดุอื่น ๆ และเติมน้ำในปริมาณ 10% สุดท้าย หลังจากที่ใส่วัสดุเข้าไปทั้งหมด
- หากมีการใส่ตัวน้ำยาผสมคอนกรีตที่เป็นประเภทผง ควรจะผสมรวมกับปูนซีเมนต์ก่อน ถ้าหากเป็นของเหลว จะต้องละลายน้ำยาผสมกับน้ำให้เรียบร้อย
สัดส่วนคอนกรีตผสมเสร็จควรใช้ปริมาณเท่าไหร่ ?
เมื่อมีการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จ หรือคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้งาน สามารถคำนวณปริมาตรคอนกรีตที่ต้องการสั่งได้โดยวัดพื้นที่และความหนาที่ต้องการเทในหน่วยเมตร (ม.) ตามสูตร กว้าง x ยาว x หนา = ปริมาณคอนกรีตที่ต้องสั่ง (หน่วยเป็น ลบ.ม. หรือนิยมเรียกว่า “คิว” ซึ่งย่อมาจากคิวบิกเมตร) เช่น พื้นที่จอดรถกว้าง 4 ม. ยาว 5 ม. เทคอนกรีตหนา 10 ซม. (0.1 ม.) จะได้ 5 x 4 x 0.10 = 2 คิว หรือ 2 ลบ.ม.
ในการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จจำเป็นต้องระบุประเภทงานโครงสร้าง เช่น คอนกรีตสำหรับเทเสาเข็ม เสา ฐานราก คาน พื้นดาดฟ้า หรือพื้นภายในอาคาร เป็นต้น เพราะการเทคอนกรีตในส่วนโครงสร้างที่กล่าวมานี้มีความแตกต่างกันที่ค่ากำลังอัด และค่าการยุบตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้จะเป็นคนวัดค่าและกำหนดออกมา
สัดส่วนผสมคอนกรีตมีแตกต่างกันออกไปตามชนิดการใช้งาน จะมีดังนี้
สูตร 1 : 1.5 : 3 เหมาะสำหรับงานถนน และโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง
สูตร 1 : 3 : 5 เหมาะสำหรับเทคอนกรีตหยาบ ใช้ในการปรับระดับ หรืองานที่รับกำลังได้ต่ำตัวนี้ใช้ได้
สูตร 1 : 2 : 4 เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตทั่วไป เช่น ตอม่อ พื้น เสา คาน
สูตร 1 : 1.5 : 2 เหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงและความทนทานมากขึ้น
รู้ไว้ไม่เสียหาย
คอนกรีตผสมเสร็จที่ตัวหน้างานนั้นจะทำการใช้ปริมาณที่น้อย หรือมีพื้นที่ที่ไม่มากพอที่จะให้รถโม่เข้าไป แต่ตัวคอนกรีตผสมเสร็จที่มีการควบคุมสัดส่วนจะได้มาตรฐานและคุณภาพ ตัวของคอนกรีตแข็งแรงทนทาน ซึ่งเหมาะกับงานในปริมาณที่มาก นอกจากนี้การวางแผนล่วงหน้าก็จะทำให้การทำงานนั้นสะดวก และลุล่วงไปด้วยดี.
สรุป
การผสมคอนกรีตก็มีวิธีให้เลือกใช้ตามที่สะดวก แต่ถ้าอยากให้คอนกรีตได้มาตรฐานและคุณภาพต้องมีการวางแผนและมีการวัดสัดส่วนผสมก่อนทุกครั้ง ก็จะทำให้ได้คอนกรีตผสมเสร็จที่ทนทานแข็งแรง หากต้องการคอนกรีตผสมเสร็จสามารถค้นหา นภาคอนกรีต ทางเราพร้อมให้บริการ ได้คุณภาพ มาตรฐานอย่างแน่นอน.